เมื่อน้ำยาทำความเย็นในสภาพก๊าซร้อนผ่านมาบริเวณคอนเดนเซอร์(คอยล์ร้อน)
จะถูกพัดลมระบายความร้อนเป่าเพื่อลดความร้อน และเริ่มกลับกลายเป็นของเหลว
อีกครั้ง(โดยการอัดของคอมเพรสเซอร์ที่ผ่านมา) หลังจากนั้นจะผ่านไปยัง
ดรายเออร์ฟิลเตอร์และท่อคาพิลลารี่ ซึ่งจะช่วยดูดซับความชื้นและป้องกันสิ่งสกปรก
เข้าไปอุดตันในอีวาพอเรเตอร์ และยังช่วยไม่ให้ของเหลวไหลย้อนกลับไปสัมผัส
โดยตรงทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหาย
ภาพคอนเดนเซอร์และพัดลมระบายความร้อน
ภาพดรายเออร์ฟิลเตอร์และท่อแคพิลารี
ต่อจากนั้นจะเข้าไปที่อีวาพอเรเตอร์(คอยล์เย็น)
ซึ่งอยู่รอบโถปั่น ช่วงนี้น้ำยาทำความเย็นในสภาพของเหลวจะเริ่มเปลี่ยนเป็นก๊าซ
โดยที่จะเกิดปฏิกิริยาดูดความร้อน ทำให้บริเวณในโถปั่นเย็นขึ้น น้ำยาที่มีสภาพของเหลว
และเปลี่ยนเฟสเป็นก๊าซ จะผ่านต่อไปยังเฺฮดเดอร์ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนแอคคิวมูเลเตอร์
แต่ขนาดเล็กกว่า ตัวนี้จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ของเหลวเข้าสัมผัสกับคอมเพรสเซอร์
โดยตรง
ภาพแสดงอีวาพอเรเตอร์(คอยล์เย็น)บุด้วยโฟมอีกชั้น
ภาพแสดงเฮดเดอร์ ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ของเหลวสัมผัสคอมเพรสเซอร์โดยตรง
เมื่อผ่านคอมเพรสเซอร์จะมีการอัดน้ำยาสภาวะก๊าซให้กลับกลายเป็นน้ำยา
สภาวะเหลวอีกครั้งโดยจะไปผ่านคอนเดนเซอร์เพื่อระบายความร้อนออก
วงจรจะเป็นเช่นนี้เรื่อยไป