ก่อนทำความเข้าใจถึงเรื่องตันการทำความเย็น จำเป็นต้องทราบเสียก่อนว่าจำนวนปริมาณความร้อนแฝงของการหลอมละลายของน้ำแข็งหนัก 1 กรัม ที่ 0 องศาเซลเซียสหลอมละลายกลายเป็นน้ำหมด 1 กรัมที่ 0 องศาเซลเซียส จะต้องใช้ปริมาณความร้อนแฝง 79.68 แคลอรี่
1 ตันของการทำความเย็น ได้มาจาการนำน้ำแข็งหนัก 1 ตัน(1,000 กิโลกรัม)ที่ 0 องศาเซลเซียส มาหลอมละลายดูดรับปริมาณความร้อนกลายเป็นน้ำ 1 ตันที่ 0 องศาเซลเซียสหมดพอดีในเวลา 1 วัน
จากสูตร Q=mL
โดยที่ Q คือ ปริมาณความร้อน =? กิโลแคลอรี (kcal)
M คือ มวลหรือน้ำหนักของน้ำแข็ง =1,000 กิโลกรัม (kg)
L คือ ความร้อนแฝงของการหลอมละลายของน้ำแข็งมีค่า 79.68 แคลอรี่
แทนค่า Q=1,000*79.68 kcal/วัน
= 79,680 kcal/วัน
หรือ = 79,680/24 kcal/ชม
= 3,320 kcal/ชม (12,000 Btu/ชม)
นั่นคือ 1 ตันของการทำความเย็น มีค่าเท่ากับตวามสามารถในการดูดรับปริมาณความร้อนของเครื่อง 3,320 กิโลแคลอรี่/ชั่วโมง (12,000 บีทียู/ชั่วโมง)
ในปัจจุบัน การกำหนดขนาดของเครื่องทำความเย็นมักกำหนดเป็นกิโลแคลอรี่มากกว่าที่จะกำหนดขนาดของเครื่องเป็นตันหรือแรงม้า แต่ถ้ากำหนดเป็นตันก็จะต้องบอกค่าเป็นกิโลแคลอรี่กำกับไว้ด้วยเสมอ เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 1 ตัน หรือ 3,320 กิโลแคลอรี่/ชั่วโมง
ที่มา:หนังสือเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศของ สมศักดิ์ สุโมตยกุล
|